เกจวัดแรงดัน Pressure Gauge เกจวัดความดัน

 
 

เกจวัดแรงดัน ใช้ควบคุมและวัดค่าแรงดันสูง-ต่ำ การทำงานของอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต่างๆ ซึ่งนิยมนำมาใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ระบบชลประทานและงานเครื่องยนต์ ผู้ใช้งานสามารถอ่านค่าที่หน้าปัดของเกจและทราบถึงสถานะการทำงานได้ทันที มีลักษณะโครงสร้างเป็นวงกลมคล้ายกับหน้าปัดนาฬิกา มีเข็ม ตัวเลข ขีดหน่วยวัดค่าอื่นๆ และส่วนท้ายเป็นข้อต่อเกลียวหรือบางรุ่นเป็นฐานไว้ต่อเข้ากับอุปกรณ์ได้อีกด้วย

ปัจจุบันเกจวัดแรงดันมีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบทั้งแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล สามารถนำมาติดตั้งใช้วัดแรงดันแก๊ส วัดแรงดันน้ำยาแอร์ วัดแรงดันลมยางวัดแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์ และอีกมากมาย ซึ่งแต่ละรูปแบบติดตั้งและใช้งานแตกต่างกันออกไป ผู้ใช้งานควรเลือกใช้เกจวัดแรงดันให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อการวัดค่าความดันและอ่านค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

เกจวัดแรงดัน (pressure gauge) อุปกรณ์ใช้วัดค่าแรงดันก๊าซและของเหลว ใช้ในการวัดและควบคุมแรงดัน โดยจะระบุค่าแรงดันออกมาในหน่วยต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับรุ่นและการสั่งซื้อ โดยปกติเราจะต้องเลือกด้วยว่าต้องการใช้งานแบบใด นิยมใช้สำหรับวัดค่าความดันทั่วๆไป อ่านค่าความดันได้ที่หน้าปัด ส่วนใหญ่เป็นแบบอนาล๊อคหรือแบบเข็ม แบ่งเป็น pressure gauge, vacuum gauge, compound gauge เพรชเชอร์สวิตซ์ (pressureswitch) หรือสวิตซ์ความดัน และเพลชเชอร์ทรานมิสเตอร์ (pressure transmitter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันและสามารถแปลงค่าความดันเป็นสัญญาณทางไฟฟ้ามาตรฐานได้ นิยมใช้ในระบบที่ต้องมีการควบคุมความดัน มักมีการทำงานแบบดิจิตอล ON-OFF 

เกจวัดความดัน คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันบรรยากาศที่เกิดขึ้นในระบบท่อ หรือ ในพื้นที่ที่เก็บแรงดันไว้เราสามารถหาค่าแรงดันได้จากเครื่องมือหลายชนิดเช่น บาโรมิเตอร์ แมนโนมิเตอร์หรือเกจวัดความดัน Pressure gauge และจะแบ่งได้ตามประเภทของย่านวัดออกเป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ

1 Vacuum gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ เช่น (-760mmhg-0bar)

2 Pressure gauge ช่วงแรงดันปกติ เช่น (0-10Bar)(0-140psi)

3 Compond gauge ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ ถึง ช่วงแรงดันปกติ เช่น(-760 mmhg-5 Bar)

หน่วยวัดความดันใน เกจวัดความดัน ที่นิยมใช้และเจอบ่อยๆจะมี

1. Bar บาร์ (ระบบ SI)

2. Kgf/cm2 กิโลกรัม แรงต่อตารางเซนติเมตร (ระบบแมติก) คนไทยเรานิยมเรียกว่า กิโล เฉยๆครับ

3. PSI ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (ระบบอังกฤษ)

4. mmg มิลลิเมตรปรอท

5. mmH2o มิลลิเมตรน้ำ

6. pa ( pascal ระบบแมติก ) ส่วนใหญ่จะพบเป็น kpa หรือ mpa

น้ำมันหรือของเหลวที่อยู่ใน pressure gauge คือ "Glycerine" กลีเซอรีนเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากน้ำมันจากพืชเช่นจากปาล์ม เป็นต้น กลีเซอร์รีนสามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีพิษ กลีเซอร์ลีนจึงนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟันอื่นๆอีกมากมาย ยังช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์จากการเติม Glycerin ใน Pressure gauge

1.ความหนืดของ Glycerin จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ได้เป็นอย่างดี

2.ประโยชน์ของความหนืดใน Glycerin ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการติดตั่ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา

3.Glycerin ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gauge ให้ทำงานได้อย่างยาวนานมากขึ้น

4.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการสั่น

5.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

5.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลี่ยนแปลงของความดันในจุดที่เราวัด

Pressure gauge ใช้ในงานอุณหภูมิสูงๆ เช่นงาน steam water heater ที่มีอุณหภูมิถึง 180 องศาเซลเซียส หรือที่เราเรียกว่างาน สตีม นั่นเอง เราต้องมีอุปกรณ์เสริมคือ Syphon นั่นเอง Syphon จะทำหน้าที่ ช่วยลดอุณหภูมิก่อนเข้า pressure gauge

Pressure Gauge ในงานอาหารหรือ Food Grade และงานอุตสาหกรรมที่มีการกัดกร่อนสูง อุตสาหกรรมเคมี หรือวัดความดันที่มีความหนืดสูง หรือสารที่มีการตกผลึกสูง ตัว Diaphragm มาต่อเข้ากับ Pressure gauge

ประโยชน์คือ

1.ป้องกันสารดังกล่าวเข้าไปทำอันตรายกับ pressure gauge

2.ป้องกันการปนเปื้อน จากชิ้นส่วนภายในหรือคราบสนิมภายในตัว pressure gauge ปะปนมากับของเหลวที่เราวัด Diaphragm วัสดุที่ใช้จะเป็น สแตนเลส 316

Snubber และ Needle valve ในระบบการวัดความดันมีประโยชน์อย่างไร

Snubber จะทำหน้าที่ป้องกันแรงดันกระชากได้ส่วนหนึ่ง โครงสร้างของ Snubber จะเป็นข้อต่อและจะมีตระแกรงเล็กๆเป็นรูพรุน รูพรุนจะทำหน้าที่ค่อยๆปล่อยแรงดันออกมา ก่อนจะเข้าสู่ pressure gauge

Needle Valve จะทำหน้าที่ตัวโครงสร้างจะมีลักษณะเป็นเข็ม ใช้ควบคุมอัตราการไหล ซึ่งจะมีความเทียงตรงมากในกรณีนำมาต่อร่วมกับ pressure gauge ก็จะช่วยควาบคุมแรงดันกระชาก ก่อนเข้า pressuer gauge นั่นเอง

จำหน่าย Pressure Gauge ยี่ห้อ Nuova Fima

 

Pressure gauge nuova fima ผลิตจาก case AISI 304st.st เกลียว NPT/BSPT มี Scalesให้เลือกทั้ง bar, psi, kg/cm2 ภายในตัวสามารถเติม Glycerin ได้ เลือกใช้วัดความดันได้ตั้งแต่ 0 bar .... 600 bar หรือ(0 psi...870psi ตามความต้องการ เหมาะกับงานอุตสาหกรรมทุกชนิดเช่น อุตสาหกรรมอาหาร,เคมี,พลาสติก ใช้วัดแรงดันน้ำ,แก๊ส,ลม,น้ำมัน(Hydraulic) ทางบริษัท มีทีมงาน บริการหลังการขายซ่อมสร้าง ชิ้นส่วนเกียวกับระบบ นิวแมติกส์ / กลึงชิ้นส่วนอะไหล่อุสาหกรรมทุกชนิดและให้คําปรึกษาทางด้าน ออกแบบเครื่องจักรงานลม ภายใต้หลักการทางวิศวกรรมอย่างถูกต้อง โดยอาศัยความ ต้องการและ ความพอใจ ของลูกค้าเป็นสําคัญ ทางบริษัทมีความ ภูมิใจอย่างยิ่งที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งของความสําเร็จของคุณ

Pressure Guage ยี่ห้อ Nuova fima เลือกจาก

1.เลือกย่านวัดความดันตามที่เราใช้งาน เช่น ต้องการ Rang 0-10 bar เป็นต้น

2.ตามขนาดหน้าปัดเช่น 2.5 นิ้ว 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว 10 นิ้ว

3.ต้องการเกลียวออกหลัง หรือ เกลียวออกล่าง มีทั้ง NPT และ BSP

4.วัสดุที่ทำเกลียว Nuona fima จะมีให้เลือกอยู่2แบบคือ เกลียวทองเหลือง และ สแตนเลส

(ทุกตัวจะมีช่องไว้สำหรับเติม Glycerin ทุกตัวครับ)

 

Visitors: 102,084